ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนตลอดทั้งปี การเลือกใช้ แผ่นฉนวนกันความร้อน หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผนังโฟมกันความร้อน ในอาคารก่อสร้างจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยกันความร้อนเข้ามาภายในอาคารแล้ว ยังช่วยประหยัดการใช้พลังงานในการรักษาความเย็นภายในอาคารได้เป็นอย่างดี
ฉนวนกันความร้อน คือ อะไร ?
ฉนวนกันความร้อน คือ วัสดุที่ใช้ในการชะลอการส่งผ่านความร้อนจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานและรักษาอุณหภูมิภายในห้องให้เป็นไปตามที่คุณต้องการได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นฉนวนกันความร้อนประเภทใดล้วนมีจุดมุ่งหมายในการใช้งานเดียวกัน คือ การเก็บรักษาพลังงานไม่ให้ถ่ายเทออกไปหรือเข้ามาภายในบริเวณที่กำหนด ดังนั้นจึงควรเลือกฉนวนกันความร้อนที่มีลักษณะที่ดี ซึ่งมีลักษณะดังนี้
- มีค่าการนำความร้อน (k-Value) ต่ำ
- มีค่าการต้านทานความร้อนสูง (R-Value) สูง
- มีค่าการดูดซับน้ำ (Water Absorption) ต่ำ
- มีความแข็งแรงสูงและน้ำหนักเบา
- รับน้ำหนักและแรงกด (Compressive strength) ได้ดี
ทั้งนี้ถ้าค่าสัมประสิทธิ์ของการนำความร้อน (ค่า k-Value) ยิ่งต่ำ แสดงว่าเป็นฉนวนที่สามารถต้านทานความร้อนได้ดีกว่า
ตารางเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนของ ฉนวนกันความร้อน ชนิดต่างๆ
ฉนวนกันความร้อน | k-Value (วัตต์/เมตร oC) |
Polyisocyanurate (PIR) Foam | 0.021 |
เส้นใย Rockwool | 0.034 |
EPS Foam | 0.027 |
Polyurethane (PU) Faom | 0.023 |
ฉนวนใยแก้ว | 0.035 |
ไม้อัด | 0.123 |
แผ่นยิปซัม | 0.191 |
กระเบื้องแผ่นเรียบ | 0.28 |
ค่าสัมประสิทธิ์ของการนำความร้อน (Thermal Conductivity) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ค่า K-Value คือ ค่าที่แสดงความสามารถในการถ่ายเทความร้อน หรือ ค่าที่แสดงให้เห็นถึงค่าความร้อนที่ผ่านเข้าไปได้ในวัสดุนั้นๆ ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการทำฉนวนกันความร้อนจะมีค่า K-Value ที่แตกต่างกัน โดยยิ่งหากมีค่า K-Value ต่ำเท่าไร ยิ่งแสดงว่าฉนวนกันความร้อนชนิดนั้น มีความสามารถในการต้านทานความร้อนได้ดีกว่านั่นเอง
ฉนวนกันความร้อน กับอุตสาหกรรมไทย
ฉนวนกันความร้อนชนิดโฟม นิยมนำมาใช้เป็นผนังอาคารโรงงาน ถูกเรียกว่า ผนังโฟมกันความร้อน คือ แผ่นฉนวนสำเร็จรูปที่มีโฟมกันความร้อนเป็น Core Insulation แล้วประกบด้วยแผ่นเหล็กเคลือบสี Food Grade บนและล่างด้วยการยึดติด เรียกว่า Sandwich Panel หรือ ISOWALL โดยสามารถนำผนังโฟมกันความร้อนมาใช้ในเชิงอุตสาหกรรมได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ผนังโฟมกันความร้อนอาคาร โฟมกันความร้อนหลังคา หรือจะนำมาทำเป็นประตูฉนวนกันความร้อนสำหรับอุตสาหกรรม ห้องเย็น ไลน์ผลิต คลังสินค้า ก็สามารถใช้ผนังโฟมกันความร้อนได้ทั้งหมด ผนังโฟมกันความร้อนมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีโครงสร้างหรือทำจากวัสดุที่แตกต่างกัน เช่น PIR Foam, เส้นใย Rockwool, EPS Foam ซึ่งมีคุณสมบัติกันความร้อนได้ดี น้ำหนักเบากว่าผนังแบบก่ออิฐฉาบปูน ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว ได้มาตรฐานการผลิต เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาและควบคุมอุณหภูมิ จึงควรเลือกใช้ประเภทผนังโฟมกันความร้อนที่เหมาะสมกับการใช้งาน
ผนังโฟมกันความร้อน คืออะไร อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ผนังโฟมกันความร้อน คืออะไร โฟมก่อสร้างคู่อุตสาหกรรมไทย