พอลิไอโซไซยานูเรต (PIR) จะมีโครงสร้างวงแหวนของไอโซไซยานูเรตสามารถปรับปรุงการทนต่อความร้อนและเปลวไฟของพอลิยูรีเทนโฟมได้
การเกิดวงแหวนไอโซไซยานูเรททำได้จากการใช้สารหลักได้ไอโซไซยานูเรตจำนวนเกินพอกับพอลิออล โดยใช้สารเร่งปฎิกิริยาชนิดพิเศษ
โครงสร้างวงแหวนไอโซไซยานูเรตนี้ มักจะเปราะยากต่อการใช้งานถึงแม้จะทนต่อการเผาไหม้ ดังนั้นโฟมที่นำไปใช้งานจึงมักเป็นโฟมแบบผสม ระหว่างโครงสร้างยูรีเทนกับไอโซไซยานูเรต แต่เรียกว่าโฟมพอลิไอโซไซยานูเรต หรือ โฟม PIR แสดงโครงสร้างตามแผนภาพต่อไปนี้
พอลิยูรีเทนโฟม (PUR Foam) และ พอลิไอโซไซยานูเรตโฟม (PIR Foam) มีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันมาก
คุณสมบัติการทนความร้อนของ โฟม PUR เปรียบเทียบกับโฟม PIR
โฟม PIR มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี เนื่องจากอุณหภูมิสลายตัวอยู่ที่ 400°C ขณะที่โฟม PUR จะอยู่ที่ 230-250 °C
ดั้งนั้น โฟม PIR สามารถที่จะใช้งานที่อุณหภูมิ 150 °C ได้อย่างต่อเนื่อง ขณะลุกไหม้ PIR จะเกิดผิวดำเกรียม (Char) มากกว่า โฟม PUR ผิวเกรียมนี้จะช่วยป้องกันก๊าซออกซิเจนสัมผัสเนื้อโฟมที่อยู่ด้านใน ซึ่งเป็นการป้องกันไฟลาม