โครงสร้างของโฟมพอลิไอโซไอยานูเรต PIR

Polyurethane Foam (PUR Foam) ต่างจาก Polyisocyanurate Foam (PIR Foam) อย่างไร

พอลิไอโซไซยานูเรต (PIR) จะมีโครงสร้างวงแหวนของไอโซไซยานูเรตสามารถปรับปรุงการทนต่อความร้อนและเปลวไฟของพอลิยูรีเทนโฟมได้

การเกิดวงแหวนไอโซไซยานูเรททำได้จากการใช้สารหลักได้ไอโซไซยานูเรตจำนวนเกินพอกับพอลิออล โดยใช้สารเร่งปฎิกิริยาชนิดพิเศษ

โครงสร้างวงแหวนไอโซไซยานูเรตนี้ มักจะเปราะยากต่อการใช้งานถึงแม้จะทนต่อการเผาไหม้ ดังนั้นโฟมที่นำไปใช้งานจึงมักเป็นโฟมแบบผสม ระหว่างโครงสร้างยูรีเทนกับไอโซไซยานูเรต แต่เรียกว่าโฟมพอลิไอโซไซยานูเรต หรือ โฟม PIR แสดงโครงสร้างตามแผนภาพต่อไปนี้

 

โครงสร้างของโฟมพอลิไอโซไอยานูเรต PIR

พอลิยูรีเทนโฟม (PUR Foam) และ พอลิไอโซไซยานูเรตโฟม (PIR Foam) มีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันมาก

เปรียบเทียบโครงสร้างระหว่าง โฟมพอลิยูรีเทน โฟม PUR Foam และ โฟมพอลิไอโซไซยานูเรต โฟม PIR Foam

 

คุณสมบัติการทนความร้อนของ โฟม PUR เปรียบเทียบกับโฟม PIR

โฟม PIR มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี เนื่องจากอุณหภูมิสลายตัวอยู่ที่ 400°C ขณะที่โฟม PUR จะอยู่ที่ 230-250 °C

ดั้งนั้น โฟม PIR สามารถที่จะใช้งานที่อุณหภูมิ 150 °C ได้อย่างต่อเนื่อง ขณะลุกไหม้ PIR จะเกิดผิวดำเกรียม (Char) มากกว่า โฟม PUR ผิวเกรียมนี้จะช่วยป้องกันก๊าซออกซิเจนสัมผัสเนื้อโฟมที่อยู่ด้านใน ซึ่งเป็นการป้องกันไฟลาม

 

Share

ติดต่อเรา

คำแนะนำติชมของท่านเป็นประโยชน์ต่อเราในการพัฒนา ปรับปรุง สินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับการตอบรับจากทุกท่านที่มาเยี่ยมชมสินค้าและบริการจากเว็บไซต์ของเรา

ช่วยให้เรารู้
คุณต้องการติดต่อเรื่องใด ?