รวม 8 วิธีที่ผู้ประกอบการควรรู้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุไฟไหม้โรงงาน

8 วิธีที่ผู้ประกอบการควรรู้ เพื่อป้องกันไฟไหม้โรงงาน

โรงงาน คลังสินค้า เป็นส่วนสำคัญในการประกอบธุรกิจต่างๆ มากมาย จึงต้องมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการป้องกันไฟไหม้ เพราะหากมีการเกิดอัคคีภัยในโรงงานขึ้น อาจสร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาลให้กับธุรกิจได้ ในบทความนี้ได้รวบรวมวิธีป้องกันไฟไหม้โรงงาน โกดัง คลังสินค้ามาให้แล้ว

รวม 8 วิธีที่ผู้ประกอบการควรรู้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุไฟไหม้โรงงาน

8 วิธีป้องกันไฟไหม้หรืออัคคีภัยในโรงงาน

1. วางแผนป้องกันไฟไหม้ตั้งแต่เริ่มสร้างโรงงาน พร้อมเลือกลงทุนกับแผ่นฉนวนกันไฟ PIR FIWall i370 by Wall Tech

การวางแผนป้องกันไฟไหม้ตั้งแต่การสร้างโรงงาน เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำอย่างมาก ด้วยการเลือกลงทุนกับแผ่นฉนวนกันไฟ PIR แท้ๆ FIWall i370 by Wall Tech เป็นแผ่นฉนวนกันความร้อน กันไฟ ไร้ควัน เมื่อเกิดเพลิงไหม้จะเกิดชั้นคาร์บอนปกคลุมผิวหน้าฉนวน ทำให้ไม่เกิดการลามไฟและดับไฟได้ด้วยตัวเอง เมื่อเทียบกับฉนวน PU หรือ PIR ปลอม แข็งแรง ทนทาน เหมาะกับทุกๆ โรงงานอุตสาหกรรม

2. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับป้องกันไฟไหม้โรงงาน

ในทุกโรงงานอุตสาหกรรมควรมีการติดตั้งอุปกรณ์ในการป้องกันไฟไหม้อยู่ในทุกจุด ไม่ว่าจะเป็นถังดับเพลิง หัวกระจายน้ำ ระบบตรวจจับการเกิดอัคคีภัยในโรงงาน ชุดดับเพลิง และควรมีการเลือกติดตั้งอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับขนาดธุรกิจของโรงงานด้วย

3. จัดระเบียบสถานที่ในโรงงานให้เป็นสัดส่วนที่ชัดเจน

ควรมีการจัดระเบียบพื้นที่ และการแบ่งสัดส่วนภายในพื้นที่โรงงาน หรือคลังสินค้าให้ชัดเจน ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรทำเพื่อการรับมือกับเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ เช่นการเกิดอัคคีภัยในโรงงาน ต้องมีการจัดพื้นที่ไม่ให้มีสิ่งกีดขวางบนทางเดิน ทางเข้า-ออก แยกการเก็บวัตถุอันตราย วัตถุไวไฟอย่างเป็นสัดส่วน และมีการควบคุมอย่างเข้มงวด

4. หมั่นตรวจเช็กระบบไฟฟ้าและระบบรักษาความปลอดภัยอยู่เสมอ

ควรมีการตรวจเช็กระบบไฟฟ้าและระบบรักษาความปลอดภัยอยู่เสมอ ในทุก ๆ ส่วนของโรงงาน เพราะหากระบบไฟฟ้าหรือระบบรักษาความปลอดภัยเกิดเหตุขัดข้อง จะได้ทำการซ่อมแซมแก้ไขได้ทันที เพราะหากไม่มีการตรวจเช็กระบบไฟฟ้าอาจเกิดเหตุขัดข้องจนกลายเป็นสาเหตุของการเกิดไฟไหม้โรงงานได้

โรงงานไฟไหม้

5. ตรวจเช็กความพร้อมของเครื่องจักรอุตสาหกรรมและระบบทำความร้อนอย่างสม่ำเสมอ

ในโรงงานที่มีเครื่องจักร และระบบทำความร้อนต่าง ๆ เมื่อเกิดเหตุขัดข้องก็อาจเป็นเหตุการเกิดอัคคีภัยในโรงงานได้ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ไม่ควรมองข้าม จึงต้องมีการตรวจสอบอยู่เสมอว่าระบบเครื่องจักรและระบบทำความร้อนเหล่านี้ มีการทดสอบ บำรุงรักษาตามมาตรฐานหรือไม่

6. ควรเคร่งครัดกับมาตรการสูบบุหรี่ภายในพื้นที่โรงงานเพื่อความปลอดภัย

การแบ่งสัดส่วนพื้นที่สำหรับการสูบบุหรี่ภายในโรงงานต้องมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด โดยมีการจัดมุมสำหรับสูบบุหรี่เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวน สร้างความรำคาญให้ผู้อื่น และเพื่อให้มีความปลอดภัย ห่างไกลจากวัตถุอันตราย วัตถุไวไฟ และไม่ควรมีการวางวัตถุอันตราย วัตถุไวไฟไว้ใกล้กับบริเวณสำหรับสูบบุหรี่ด้วย เพื่อป้องกันไฟไหม้

7. หมั่นกำจัดขยะภายในโรงงานให้เรียบร้อยเสมอ

การสะสมขยะภายในโรงงานอาจเป็นอีกสาเหตุให้เกิดไฟไหม้โรงงานได้ ทางโรงงานควรมีมาตรการกำจัดขยะในแต่ละวันอย่างเข้มงวด และแยกขยะที่เป็นวัตถุอันตราย วัตถุไวไฟ ไปกำจัดให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัยในโรงงานได้อีกทางหนึ่ง

8. ตรวจเช็กความเรียบร้อยของโรงงานเมื่อหมดวันเป็นประจำ

ควรมีการจัดอบรมและมอบหมายหน้าที่ให้มีพนักงานรับผิดชอบการตรวจสอบทุกพื้นที่ในโรงงาน อาคาร โกดัง คลังสินค้าต่าง ๆ เพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติและมีการจดบันทึกผลการตรวจสอบอย่างละเอียด ถึงระบบเครื่องจักร ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบป้องกันการเกิดอัคคีภัยในโรงงานต่าง ๆ ยังทำงานได้อย่างปกติหรือไม่ ป้องกันเหตุไฟไหม้โรงงาน

ลดความร้อนเลี่ยงโอกาสเกิดไฟไหม้ในโรงงานด้วยแผ่นฉนวน PIR แท้ๆ FIWall i370 by Wall Tech

แผ่นฉนวน PIR แท้ๆ FIWall i370 by Wall Tech

ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการป้องกันเหตุไฟไหม้โรงงานอย่างมาก สามารถใช้วิธีที่เราแนะนำในการตรวจสอบและป้องกันไฟไหม้โรงงานได้ วิธีที่ง่ายและทำได้ตั้งแต่เริ่มสร้างโรงงานคือการเลือกใช้วัสดุที่สามารถกันไฟได้อย่างแผ่นฉนวนกันไฟ PIR แท้ๆ FIWall i370 by Wall Tech แผ่นฉนวนกันความร้อน ที่มีค่า Index สูงถึง 370 คือเมื่อเกิดเพลิงไหม้จะเกิดชั้นคาร์บอนปกคลุมผิวหน้าฉนวน ทำให้ไม่เกิดการลามไฟ และดับไฟได้ด้วยตัวเอง ลดความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัยในโรงงานได้อีกขั้น

Share

ติดต่อเรา

คำแนะนำติชมของท่านเป็นประโยชน์ต่อเราในการพัฒนา ปรับปรุง สินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับการตอบรับจากทุกท่านที่มาเยี่ยมชมสินค้าและบริการจากเว็บไซต์ของเรา

ช่วยให้เรารู้
คุณต้องการติดต่อเรื่องใด ?